กลุ่มดาวจักรราศี


กลุ่มดาวจักรราศี
กลุ่มดาวจักรราศี หมายถึง กลุ่มดาวฤกษ์จำนวน 12 กลุ่ม ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ออกไป ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นกลุ่มดาวเหล่านี้ ปรากฏแตกต่างกันไปตามช่วงระยะเวลาของเดือน ซึ่งมนุษย์ในสมัยโบราณก็จินตนาการรูปร่างของกลุ่มดาวเป็นสิ่งต่างๆ และมีการค้นพบ รูปของกลุ่มดาวจักรราศีวาดอยู่บนโลงศพของมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณด้วย ต่อมามนุษย์ได้แบ่งกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่ตามแนวทางเดินของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า เส้นสุริยะวิถี ออกเป็น 12 กลุ่ม จริงๆแล้ว กลุ่มดาวดังกล่าวไม่ได้อยู่บนแนวสุริยวิถีพอดี แต่จะอยู่ในช่วงแถบกว้างประมาณ 18 อาศา ผ่านแนวสุริยวิถี โดยมี 12 กลุ่มดาว แต่ละกลุ่มดาวห่างกัน ประมาณ 30 องศาเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตศักราช กลุ่มดาวกลุ่มแรก ที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่าน จุดที่สุริยะวิถี เคลื่อนที่ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ในเริ่มต้นของฤดูร้อน คือ กลุ่มดาวแกะ (Aries) กลุ่มดาวแกะจึงถูกเรียกในสมัยนั้นว่า March Equinox หรือ 0 Aries กลุ่มดาวถัดมา คือ กลุ่มดาววัว, กลุ่มดาวคนคู่, กลุ่มดาวปู, กลุ่มดาวสิงห์, กลุ่มดาวผู้หญิงสาว, กลุ่มดาวคันชั่ง, กลุ่มดาวแมงป่อง, กลุ่มดาวคนยิงธนู, กลุ่มดาวมกร, กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ และกลุ่มดาวปลาคู่ รวมเป็น 12 กลุ่มดาวจักรราศีต่อมา เมื่อประมาณ ค.. 0 จุด Equinox ดังกล่าวได้ขยับ มาอยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า the Age of Pisces หรือยุค the New Great Age นั่นเอง และคาดว่า ประมาณปี ค.. 2600 จุดดังกล่าวจะขยับ เข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) เริ่มต้นยุคที่เรียกว่า the Age of Aquariusโดยทุกๆประมาณ 2100 ปี จุด Equinox จะขยับไปทางทิศตะวันตกทีละ 1 จักรราศีนั่นเองเนื่องจากโลกโคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ โดยที่แกนโลกเอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศา กับ แนวตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ของโลก รอบดวงอาทิตย์ แกนดังกล่าวไม่ได้เอียงคงที่ แต่จะส่ายเช่นเดียวกับแกนของลูกข่าง ที่ส่ายในขณะที่หมุน และเคลื่อนที่ไปรอบๆ เพียงแต่ขนาดของวงโคจร ที่โลกเคลื่อนที่ มีขนาดใหญ่กว่ามาก ทำให้คาบเวลาในการส่าย ใช้เวลานานถึง 26,000 ปี ซึ่งปัจจุบัน แกนขั้วฟ้าเหนือ ชี้ไปใกล้กับดาวเหนือ (Polaris) และจะชี้ไปใกล้ดาวเหนือมากที่สุด ประมาณปี ค..2100 และในอีกประมาณ 13,000 ปีจากปัจจุบัน แกนขั้วฟ้าเหนือ จะชี้ไปใกล้ดาววีกา (Vega) ในกลุ่มดาวพิณ (Lyra) แทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้จุด Vernal Equinox ค่อยๆขยับ ไปทางทิศตะวันตกช้าๆ ปีละประมาณ 50 ฟิลิปดา (50/3600 องศา) นั่นเอง ในอดีตกาล ดาวขั้วฟ้าเหนือของชาวอียิปต์โบราณ ประมาณ 4800 ปีมาแล้ว คือ ดาวทูบาน (Thuban) ในกลุ่มดาวมังกร (Draco) ซึ่งเป็นดาวดวงที่ 3 นับจากหางรูปมังกร ซึ่งทำให้ปิระมิดของชาวอียิปต์ มีช่องจากภายใน ชี้ไปดาวทูบานนั่นเอง

                                           กลุ่มดาวแกะ
( ARIES )
ราศี เมษ
กลุ่มดาวแกะ เป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าด้านเหนือ อยู่ถัดจากกลุ่มดาวปลาไปทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวแกะระหว่างวันที่ 19 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม กลุ่มดาวแกะประกอบด้วยดาวฤกษ์ 4 ดวงเป็นอย่างน้อย โดย 3 ดวงแรกเป็นส่วนของหัวแกะ ( Hamal เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่าง 2.00 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 66 ปีแสง ชื่อดาวหมายถึง Lamp , Sheraton มีความสว่าง 2.64 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง Mark หรือ Sign เนื่องจาก จุด March Equinox หรือ 0 Aries อยู่ใกล้กับดาวดวงนี้มากที่สุด ในช่วง 300-400 ปีก่อนคริสต์ศักราช , Aries มีความสว่าง 4.0 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 148 ปีแสง )  และอีก 1 ดวงเป็นสะโพกของแกะ กลุ่มดาวแกะจะขึ้นทางจุดทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือเล็กน้อยประมาณ 22.5 องศา และจะปรากฏบนท้องฟ้านานวันละ 12 ชั่วโมงกลุ่มดาวแกะ เมื่อครั้งสมัยกรีกโบราณ ( 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เคยเป็นกลุ่มดาวที่ แนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ตัดกับแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ในฤดูใบไม้ผลิ ( ราววันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ) เราเรียกจุดนี้ว่า The March Equinox หรือ 0 Aries หรือปัจจุบันเรียกว่า The Vernal Equinox ในปัจจุบัน จุดดังกล่าวได้ขยับไปอยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ ( Pisces )

กลุ่มดาววัว
( TAURUS )
ราศีพฤษภ
กลุ่มดาววัว เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นได้ง่าย มีดาวฤกษ์เรียงกันเป็นรูปตัววีอย่างน้อย 9 ดวง เป็นกลุ่มดาวทางฟ้าซีกเหนือ โดยจะปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางทิศเหนือ คนไทยโบราณเรียกกลุ่มดาววัวนี้ว่า ดาวไม้ค้ำเกวียน หรือ ดาวธง ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาววัวระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน ในกลุ่มดาววัวจะมีดาวฤกษ์สีส้มแดงสว่างที่สุดอยู่หนึ่งดวงเป็นตาขวาของวัว ชื่อว่า ดาวอัลดิบะแรน ( ALDEBARAN ) หรือ ดาวโรหิณี ( ความสว่าง 0.85 ) มีความหมายว่า ผู้ติดตาม เพราะดาวดวงนี้อยู่ตามหลังกลุ่มดาวลูกไก่ ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 15 องศา จะเป็นกระจุกดาวเปิด ที่มีชื่อว่า กระจุกดาวลูกไก่ ( PLEIADES ) หรือ ดาวเจ็ดสาวพี่น้องตามนิทานของกรีก ซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์นับร้อยดวง แต่สามารถเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่าเป็นดาวสว่างมาก 6 ดวงและสว่างน้อย 1 ดวง ซึ่งดาวที่สว่างที่สุดในกระจุกดาวนี้เป็นดาวฤกษ์สว่างสีขาว ชื่อว่า ดาวอัลซีโยน ( ALCYONE )

ในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวและกระจุกดาวฤกษ์ที่สำคัญดังนี้ Aldebaran ดาวอัลเดบารอน หรือชื่อไทยว่า ดาวตาวัว เป็นดาวฤกษ์แปรแสงสีแดงส้ม มีความสว่างระหว่าง 0.75-0.95 เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับ 5 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 65 ปีแสง ชื่อดาว Aldebaran หมายถึง ผู้ติดตาม เนื่องจากมันขึ้น-ตกตามกระจุกดาวลูกไก่นั่นเอง นอกจากนี้ ดาวตาวัว ยังเป็นดาวหนึ่งในสี่ของดาวราชาทั้งสี่ (The Four Royal Stars) ซึ่งประกอบด้วย ดาวหัวใจสิงห์  ดาวตาวัว ดาวปาริชาต และดาวโฟมาออท ซึ่งแต่ละดวงจะแบ่งเส้นรอบวงท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน โดยอยู่ห่างพอๆกันประมาณครึ่งท้องฟ้า (90 องศา) ทำให้เรามองเห็นดาวราชาอย่างน้อย 1 คู่เสมอElnath ดาวเอลแนต มีความสว่าง 1.65 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 131 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ส่วนปลายของอาวุธ (The butting one) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งปลายเขาของวัวด้านเหนือ เดิมเคยเป็นดาว ร่วมกับกลุ่มดาวสารถี แต่ปัจจุบัน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มดาววัวTaurus ดาวเซต้าวัว เป็นดาวคู่ 2 ดวง มีความสว่าง 3.0 และ 5.0 โคจรซึ่งกันและกัน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 417 ปีแสง ชื่อดาว อยู่ในตำแหน่งปลายเขาของวัวด้านใต้ M1 - The Crab Nebula เนบิวลารูปปู - มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา อยู่ด้านบนของปลายเขาด้านใต้ ปัจจุบัน เป็นซากของ Supernova ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ..1597 (..1054) ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนนานหลายปี ที่ชื่อเนบิวลารูปปูเนื่องจาก มีรูปร่างคล้ายปูนั่นเอง M45 - Pleiadesกระจุกดาวลูกไก่เป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียง และอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 212 ปีแสง มีความสว่างประมาณ 2.87 ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มกระจุกดาว คือ ดาวอัลซีโอเน (Alcyone) กระจุกดาวลูกไก่ อยู่ในตำแหน่งของโหนกวัว สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า 6-8 ดวง ส่วนชื่อ พลิอะดีส (Pleiades) เป็นภาษาละติน หมายถึง ลูกสาวทั้งเจ็ด (The seven sisters) ของ Titan Atlas และ PleioneThe Hyadesกระจุกดาวไฮแอดส์ (หรือสามเหลี่ยมหน้าวัว) เป็นกระจุกดาวเปิดที่เห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า เรียงกันเป็นรูปหน้าวัว (ตัว V) ไม่รวมดาวตาวัว ส่วนคนไทยจะเห็นเป็นรูปธง จึงเรียกว่า "กลุ่มดาวธง" ห่างจากโลกประมาณ 140 ปีแสง มีความสว่างประมาณ 0.5 ชื่อกระจุกดาว "ไฮแอดส์" (Hyades) หมายถึง Rainy ones เนื่องจาก จะเริ่มมองเห็นกลุ่มดาววัว ในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม โดยมาพร้อมกับฝน หรือพายุนั่นเอง


 
กลุ่มดาวคนคู่
( GEMINI )
ราศีเมถุน



กลุ่มดาวคนคู่ เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ถัดจากกลุ่มดาววัวไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 8 ดวงเรียงกันเป็นรูปคนคู่ หรือ ฝาแฝด มีชื่อว่า คาสเตอร์ ( CASTER ) เป็นดาวฤกษ์แฝดหกซึ่งเป็นดาวดวงที่ 5 ในกลุ่มดาวคนคู่ และ พอลลักซ์ ( POLLUX ) ซึ่งเป็นดาวดวงที่ 4 ในกลุ่มดาวคนคู่ ดวงอาทิตย์จะผ่านเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กรกฎาคม เป็นกลุ่มดาวที่เห็นชัดตลอดคืนในฤดูหนาว โดยเฉพาะเดือนมกราคมจะเห็นอยู่ตลอดทั้งคืน
กลุ่มดาวคนคู่ เป็นกลุ่มดาวอันดับที่สามของกลุ่มดาวจักรราศี เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวสุริยวิถี อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) โดยมีดาวฤกษ์สุกสว่างที่สังเกตง่าย และอยู่ใกล้กัน 2 ดวง คือ ดาวคาสเตอร์ (Caster) และ ดาวพอลลักซ์ (Pollux) อยู่บนทางช้างเผือก (The Milky Way) ส่วนคนไทยเห็นกลุ่มดาวคนคู่ เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายโลงศพ จึงเรียกชื่อกลุ่มดาวนี้ว่า กลุ่มดาวโลงศพ และเห็นดาวสามดวงที่อยู่ตรงด้านข้างโลงเหมือน นกกาที่มาเกาะโลงอยู่ แล้วเรียกกลุ่มดาวดังกล่าวว่า กลุ่มดาวกา เราสามารถเห็นกลุ่มดาวคนคู่ ขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ราวเที่ยงคืนของเดือนมกราคม ประกอบด้วยกลุ่มดาวที่สำคัญดังนี้ Caster  ดาวคาสเตอร์ เป็นดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่ (Double Star) ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดย 2 ดวงแรก (ชื่อ Caster A และ Caster B) มีความสว่างเท่ากับ 1.94 และ 2.92 ตามลำดับ โดยโคจรรอบกันและกันประมาณ 510 ปีต่อรอบ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 52 ปีแสง ดาวคาสเตอร์ เป็นศีรษะของหนึ่งในสองคนของคนคู่ Pollux เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างเท่ากับ 1.14 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 34 ปีแสง ชาวอารบิก เรียกดาวพอลลักซ์ อีกชื่อหนึ่งว่า Rasalgeuse หมายถึง ศีรษะของคนคู่  Alhena เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 1.93 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 105 ปีแสง M35 เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ในกลุ่มดาวคนคู่ มองเห็นค่อนข้างยากด้วยตาเปล่า อยู่เหนือดาวเอตาประมาณ 2 องศา ประกอบด้วยดาวฤกษ์สว่างประมาณ 200 ดวงขึ้นไป มีความสว่างประมาณ 5.1 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2200 ปีแสง
 
กลุ่มดาวปู เป็นกลุ่มดาวที่มีความสว่างน้อยที่สุดในกลุ่มดาวจักรราศี ซึ่งไม่มีดาวดวงใดในกลุ่มดาวเลย ที่มีความสว่างน้อยกว่า 4.0 กลุ่มดาวปู อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ (Gemmini) และกลุ่มดาวสิงโต (Leo) โดยกลุ่มดาวปูจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้าประมาณเที่ยงคืนของปลายเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์ มีกลุ่มดาวที่สำคัญ ดังนี้ Acubens เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงินขาว มีความสว่างประมาณ 4.3 ชื่อดาว หมายถึง ก้ามปู (The Claw) Altarf  มีความสว่างประมาณ 3.52 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 290 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง ปลายขาปู Asellus Borealis เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองมีความสว่างประมาณ 4.7 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 230 ปีแสง หมายถึง ลา (The Assess) Asellus Austrailis เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 4.2 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 220 ปีแสง M44 - The Beehive Cluster or Praesepe Open Cluster กระจุกดาวรวงผึ้ง เป็นกระจุกดาวเปิดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะมองเห็นเป็นฝ้า มีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เท่าของดวงจันทร์ (ประมาณ 80 ลิปดา) ประกอบด้วยดาวฤกษ์เกือบ 100 ดวง มีความสว่างปรากฏประมาณ 3.1 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 520 ปีแสง ชื่อกระจุกดาว หมายถึง รางหญ้า (The Manger)
กลุ่มดาวปู
( CANCER )

ราศีกรกฎ

ปู เป็นกลุ่มดาวที่ถัดมาจากกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวปูระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม กลุ่มดาวปูประกอบไปด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 5 ดวงทำให้มองเห็นได้ยาก แต่ในต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นได้ตลอดคืน ในกลุ่มดาวปูนี้จะมีฝ้าขาวๆอยู่ เรียกว่า กระจุกดาวรวงผึ้ง ( PRAESEPE ) หรือ ที่คนไทยเรียกว่า กระจุกดาวปุยฝ้าย ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดประกอบไปด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า


กลุ่มดาวสิงโต
( LEO )
ราศีสิงห์
กลุ่มดาวสิงโต ประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 9 ดวง ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวราศีสิงห์ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม ถึง 17 กันยายน เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตได้ง่ายบนฟ้า เพราะมีดาวฤกษ์ดวงใหญ่สีน้ำเงินขาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ 1 ดวง อยู่ตรงบริเวณหน้าอกของสิงโต เรียกว่า ดาวเรกิวลุส ( REGULUS ) หรือ ดาวหัวใจสิงห์ มีความสว่างถึง 1.35 และ ตรงปลายหางของสิงโตจะมีดาวฤกษ์สว่างสีขาวอีก 1 ดวง เรียกว่า ดาวหางสิงห์ ( DENEBOLA ) มีความสว่าง 2.14 ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 นั้น ดวงจันทร์จะปรากฏเต็มดวงบริเวณหัวของสิงโต ที่เรียกว่า มาฆฤกษ์
กลุ่มดาวสิงโต เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ห้าของกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวสุริยวิถีที่สังเกต และจดจำได้ง่ายโดยรูปสิงโตของกลุ่มดาวสิงโต จะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดาวในส่วนหัวของสิงโตจะเรียงกันเป็นรูปเครื่องหมายคำถามกลับด้าน (Reversed Question Mark) โดยมีดาวฤกษ์สุกสว่างคือ ดาวเรกูลัส ซึ่งจะอยู่ตรงตำแหน่งหัวใจของสิงโต จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวหัวใจสิงห์ มีดาวที่สำคัญดังนี้ Regulus or Cor Leonic ดาวหัวใจสิงห์ (ดาวเรกูลัส) เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาวที่อยู่บนแนวสุริยวิถี มีความสว่างประมาณ 1.35 เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับ 21 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 77 ปีแสง ชื่อดาว Regulus หมายถึง หัวใจสิงห์ เป็นดาวหนึ่งในสี่ของดาวราชาทั้งสี่ (The Four Royal Stars) ซึ่งประกอบด้วย ดาวหัวใจสิงห์ ดาวตาวัว ดาวปาริชาต และดาวโฟมาออท ซึ่งแต่ละดวงจะแบ่งเส้นรอบวงท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน โดยอยู่ห่างพอๆกันประมาณครึ่งท้องฟ้า (90 องศา) ทำให้เรามองเห็นดาวราชาอย่างน้อย 1 คู่เสมอ นอกจากนี้ดาวหัวใจสิงห์เป็นดาวคู่โดยโคจรรอบดาวฤกษ์อีกดวงซึ่งกันและกันพอมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา Denebola ดาวเดเนบโบลา มีความสว่างประมาณ 2.14 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 36 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง หางสิงโต (The lion's tail) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหางสิงโตพอดีโดยดาว Denebola เป็นดาวคู่เช่นกันแต่ไม่สามารถเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็ก  Algieba  ดาวอัลจีบา เป็นดาวคู่ มีความสว่างประมาณ 2.2 และ 3.47 สามารถเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็กอยู่ห่างจากโลกประมาณ 126 ปีแสงโคจรรอบซึ่งกันและกันโดยใช้เวลาประมาณ 620 ปีต่อรอบ ชื่อดาวหมายถึง หน้าผาก (The Forehead) แต่จริงๆแล้วอยู่ในตำแหน่งคอของสิงโต นอกจากนี้เราสามารถเห็นฝนดาวตกสิงโต (Leonid Meteor Shower) ได้ตรงตำแหน่งประมาณ 2 องศาไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของดาวดวงนี้โดยจะเห็นมากสุดทุก 33 ปีโดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ..2542 (..1999) Adhafera ดาวแอดฮาเฟอรา เป็นดาวคู่เช่นกันอยู่ห่างจากโลกประมาณ 260 ปีแสงโดยที่อีกดวงมีความสว่างประมาณ 6 พอมองเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องสองตา M95  M96 M105 - The Galaxy M95 และ M96 เป็นกาแลกซีแบบกังหัน (Spiral Galaxy) ส่วน M105 เป็นกาแลกซีแบบทรงกลม (Elliptical Galaxy) กล้องสองตา อยู่ห่างจากดาวหัวใจสิงห์ ไปทางตะวันออก ประมาณ 9 องศาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 30 ล้านปีแสง จากกาแลกซีทางช้างเผือกมีความสว่างประมาณ 9.7, 9.2 และ 9.3 ตามลำดับ

กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี
( VIRGO )
ราศีกันย์
กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ผ่านระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน ถือว่าเป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ดวงอาทิตย์ใช้เวลาเคลื่อนที่ผ่านนานที่สุด คือ 46 วัน รองลงมาคือ กลุ่มดาววัว 39 วัน ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงต่อกันอย่างน้อย 11 ดวง มีกลุ่มดาวที่สว่างมากอยู่ 6 ดวงเรียงกันเป็นรูปตัววาย ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวสไปก้า ( SPICA ) เป็นดาวฤกษ์สีขาวเหลือง มีหมายถึง รวงข้าวสาลีที่หญิงสาวถือไว้ในมีซ้าย มีความสว่าง 0.97 และอยู่ใต้เส้นสุริยะวิถีเล็กน้อย เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ดวงจันทร์จะตรงกับดาวสไปก้าพอดี จึงเรียกว่า จิตรฤกษ์
กลุ่มดาวหญิงสาว หรือกลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่หกของกลุ่มดาวจักรราศี มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra) กลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ทางซีกฟ้าใต้ มีลำตัวทอดยาวขนานไปตามแนวสุริยวิถี (อยู่ด้านเหนือของสุริยะวิถี) มีดาวฤกษ์สุกสว่าง คือ ดาวรวงข้าว เป็นดาวฤกษ์ที่เห็นได้เด่นชัดและหาได้ง่าย โดยกลุ่มดาวหญิงสาว จะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของเดือนเมษายน มีดาวที่สำคัญ ดังนี้ Spica ดาวรวงข้าว หรือดาวสไปกา เป็นดาวแปรแสง มีความสว่างระหว่าง 0.97-1.04 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 262 ปีแสง ดาวรวงข้าว อยู่ในตำแหน่งก้านของรวงข้าว ที่หญิงสาวถือไว้ด้วยมือซ้าย คำว่า Spica มาจากภาษาอารบิก หมายถึง ไม่สามารถสู้ได้ (Defenceless or unarmed one) เนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์ที่สว่างใดใกล้เคียงบริเวณนั้นและถ้ามองไปตามแนวสุริยวิถีจะพบว่า ดาวรวงข้าวจะอยู่ประมาณกึ่งกลางระหว่าง ดาวหัวใจสิงห์ และดาวปาริชาตโดยห่างไปประมาณ 50 องศา Zavijava ดาวซานิซจาวา เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองมีความสว่างประมาณ 3.8 ปัจจุบันจุด Autumnal Equnix ก็อยู่ใกล้กับดาวดวงนี้มากที่สุด Porrima ดาวพอร์ริมา เป็นดาวคู่ มีความสว่างรวมประมาณ 2.76 สามารถเห็นทั้งคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กทั้งคู่มีความสว่างประมาณ 3.5 ทั้งสองดวง โคจรรอบซึ่งกันและกัน ใช้เวลาประมาณ 169 ปีต่อรอบอยู่ห่างจากโลกประมาณ 39 ปีแสง ชื่อดาว พอร์ริมา เป็นชื่อเทพธิดาแห่งการทำนาย ในสมัยโรมัน (the Roman Goddess of Prophecy) ดาวดวงนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า Carmenta Auva เป็นดาวฤกษ์ยักษ์สีแดง มีความสว่างประมาณ 3.38 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 202 ปีแสง มีอีกชื่อหนึ่งว่า Minalava Vindemiatrix  ดาววินดามิอาทริกซ์ มีความสว่างประมาณ 2.83 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 102 ปีแสง อยู่ในตำแหน่งแขนขวาของหญิงสาว ชื่อดาวมาจากภาษาละติน หมายถึง ผู้เก็บเกี่ยวต้นองุ่น (The femaie grape-gatherer) ซึ่งในอดีต ดาวดวงนี้เป็นสัญญาณบอกถึง การเข้าสู่ฤดูการทำไวน์นั่นเอง The Virgo Cluster of Galaxies กระจุกกาแล็กซีในกลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกระจุกดาวที่มีกาแล็กซีจำนวนมาก ในกลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ในบริเวณศีรษะของหญิงสาว ระหว่างกลุ่มดาวผมของเบเรนิซ (Coma Berenices) และกลุ่มดาวนกกา (Corvus) ห่างจากโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 65 ปีแสง มีความสว่างระหว่างช่วง 8.6-11.9 ได้แก่ M49, M58, M59, M60, M61, M84, M86, M87, M89, M90, M104 เป็นต้น M87 - The Virgo A Galaxy มีชื่อว่า The Virgo A Galaxy มีความสว่างประมาณ 8.6 เป็นกาแล็กซีแบบทรงกลม (The Elliptical Galaxy) ประเภท E0 ที่สว่างที่สุด ในกลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ระหว่างแนวต่อระหว่าง กลุ่มดาวหญิงสาว และกลุ่มดาวผมของเบเรนิซ (Coma Berenices) และจะมีกาแล็กซี และกระจุกดาวทรงกลมมากมาย รอบๆบริเวณนี้ M104 - The Sombrero Galaxy เป็นกาแล็กซีที่มีความสว่าง อยู่ในอันดับต้นๆ ของกลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกาแล็กซีแบบมีแขน (Spiral Galaxy) ประเภท Sa ถ้ากล้องโทรทรรศน์ มีกำลังขยายพอ จะเห็นเป็นแถบดำ คาดอยู่กลางกาแล็กซีนี้ อยู่ระหว่างแนวต่อระหว่าง กลุ่มดาวหญิงสาว และกลุ่มดาวนกกา (Corvus)